แนวโน้มของความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามจาดสุขภาพของผู้ชายในปัจจุบัน

13

ไลฟ์สไตล์ของผู้ชายไทยในปัจจุบันนั้นเมื่อเริ่มย่างเข้าสู่วัยทำงาน บทบาทความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่การงานก็มักจะมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในสังคมที่เร่งรีบและมีการแข่งขันสูงนั้น มักทำให้เกิดความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก รับประทานอาหารแบบไม่ถูกสุขอนามัย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแบบสะสม จนเมื่อย่างเข้าสู่วัยสี่สิบปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายที่อาจเริ่มลด ระดับลงไป เรียกว่า แอนโดรพอส คล้ายกับเพศหญิงในวัยที่จะหมดประจำเดือน

จากปัจจัยข้างต้นแม้ว่าจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสมรรถภาพทางเพศซึ่งมักจะเป็นความรู้สึกที่บกพร่องในคุณภาพชีวิตไปหากไม่ มีทัศนคติ อื่นใด หรือพลังชีวิตใดที่ดีกว่าเข้ามาทดแทนได้ทัน แนวโน้มของความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามนั้นมีได้ตั้งแต่ที่พบบ่อยขึ้น คือ เรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นโรคฮิตติดอันดับหนึ่งของชาวอเมริกันและกลุ่มชาวยุโรป สแกนดิเนเวีย แต่ผู้ชายในแถบเอเชีย และในประเทศไทย ยังมีตัวเลขที่เป็นต่ำกว่าในต่างประเทศ ทั้งนี้ ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย โดยโรคที่มักพบในต่อมลูกหมากที่สำคัญมี 3 โรค ได้แก่

โรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งพบได้ในเพศชายอายุตั้งแต่ 40 ปี โดยเฉพาะเข้าอายุ 50-60 ปี ต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนี้ จะกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ทำให้มีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่นปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขัด ใช้เวลาปัสสาวะนาน ไม่พุ่ง หรือออกเป็นหยดๆ มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคซึ่งพบในเพศชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการหรืออาจจะมีอาการคล้ายโรคต่อมลูกหมากโต รวมทั้งปัสสาวะหรือน้ำอสุจิมีเลือดปน มะเร็งในระยะต้นสามารถตรวจพบได้เมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย โดยสวมถุงมือคลำต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก เมื่อมีการตรวจเช็กสุขภาพประจำปีและหรือตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาระดับของค่าพีเอสเอ ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียของเนื้อต่อมลูกหมากรวมทั้งจาก เชื้อหนองในเทียม การอักเสบมักจะผ่านเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ส่วนน้อย ผ่านทางกระแสเลือด บ่อยครั้งที่ตรวจไม่พบเชื้อใดๆ พบในกลุ่มอายุระหว่าง 30-40 ปีเป็นส่วนใหญ่

This entry was posted in สุขภาพ. Bookmark the permalink.

Comments are closed.